หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก - อานิสงส์การสวดและภาวนา




ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก เป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าเย็น เพื่อความสวัสดี เป็นสิริมงคลแก่ผู้สาธยายอันเป็นบ่อเกิดแห่งมหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภารัง มีอานุภาพมากและมียศสุขสรรเสริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อุปัทอันตรายและความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้ายและศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพานได้

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง  เป็นต้น  ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้ว จะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญพระพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน เป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย

อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น  ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชร ปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศจากเวรภัย

อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ  เป็นต้น  ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์ สิงสถิตในเบญขันธ์ของเรา เพื่อให้เกิดพระไตรลักษณาญาณ อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป

อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัปันโน  เป็นต้น  ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลกหรือในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตรภูมิ ของจงมาบังเกิดในขันธ์สันดานของข้าพเจ้า หรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปฌาณ อรูปฌาณ อภิญญาอันเป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรคผลนิพพาน ย่อมเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา เป็นต้น  เป็นการสาธยายหัวใจ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก และหัวใจพระพุทธเจ้า ๕๕๐ ชาติ พระเจ้า ๑๐ ชาติ และหัวใจอิติปิโส ตลอดทั้งหัวใจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้ว จะนำลาภ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัยต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความสวัสดิ์มงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป 

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง  เป็นต้น  ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้ว มีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุขความเจริญทุกประการ

พระอริยสงฆเจ้าทั้งหลาย ต่างก็กล่าวเน้นว่าพระพุทธศาสนาเป็นของจริง ของแท้ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรม ทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอ ความสุขความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย

ฉะนั้นชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกค่ำเช้าทุกวันเถิด จะบังเกิดความสวัสดิ์มงคลแก่ตนและครอบครัว ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า





ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก - มหายันต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก




มหายันต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
ฉบับเดิม

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวาย พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือญาติ มิตรสหาย จนครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญ พ้นเคราะห์และภัยพิบัติทั้งปวง



  ๑.        อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะโส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา.
             อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ.
             อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
             สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
             สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.
             วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
             วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.
             สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
             สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
             โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
             โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.

       ๒.            อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสา ระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
             อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะโส ภะคะวา.
             อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ.
             อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
             ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
             ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
             สัตถา เทวะมะนุสส่นัง สะระณัง คัจฉามิ.
             สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
             พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
             พุทธัง สิระสา นะมามิ. อิติปิ โส ภะคะวาฯ

       ๓.            อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน.

       ๔.          อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

       ๕.         อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหา ราชิกา ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะ วัตตี ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

       ๖.         อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

       ๗.         อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานา สัญญา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

       ๘.         อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติ มัคคะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิ มัคคะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิ มัคคะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะ มัคคะ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติ ผะละ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิ ผะละ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิ ผะละ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
                   อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะ ผะละ ธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

       ๙.         กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมภูทีปัญจะ
                   อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง
                   อาปามะ จุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธา ปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโสฯ
                   โสโสสะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุ เนมะภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ
                   อิส์วาสุ, สุส์วาอิ, กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ.
                   สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา. กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติ
                   สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

       ๑๐.       จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลาธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน 
                   อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
                   ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโต โลกะวิทู 
                   มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
                   ยามา อิสสะโร กุสะลาธัมมา พรหมา สัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตา
                   ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
                   ตุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ 
                   ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
                   นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
                   ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
                   ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
                   รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
                   พรหมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา
                   ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิฯ

       ๑๑.       นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา
                   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
                   นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ
                   จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
                   อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมสาวัง มะหาพรหมสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
                   เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง
                   มะหาสัปปุริสะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชชา ธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง 
                   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.
                   สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง 
                   ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขังสิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ 
                   สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ

       ๑๒.       นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
                   วิญญาณะขันโธ นะโม อิตอปิ โส ภะคะวา.
                   นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
                   วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม.
                   นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
                   วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
                   นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย โมนะ อุอะมะ
                   ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ
                   นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ





วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก - คำบูชา




คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ

โยโสสุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

_____________________________________________________


คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา 
พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ๑ หน)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ ๑ หน)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
สังฆังนะมามิ (กราบ ๑ หน)

_____________________________________________________


คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

_____________________________________________________


คำนมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สัณทิฏฐิโก อะกาลิโก 
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สะวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จิตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก - คำอธิษฐาน



อัญเชิญเทวดาและขอพรพระ


ข้าแต่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า  
ข้าพเจ้าขอน้อมอัญเชิญเทพยดาเจ้าทั้งหลาย 
โปรดได้เสด็จมาฟังการสวดมนต์ของข้าพเจ้า ขอให้มาอนุโมทนา
และประสิทธิ์ประสาทพรให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ข้าพเจ้าขอขมากรรม หากกรรมใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว 
ผิดพลาดประการใด ด้วยกาย วาจา และด้วยใจก็ดี 
ตั้งแต่อดีตชาติเป็นต้นมาจวบจนในวันนี้
ทั้งที่ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งที่ข้าพเจ้าระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี
ทั้งที่ข้าพเจ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี และรู้เท่าถึงการณ์ก็ดี
ขอทุกๆพระองค์จงโปรดเมตตาอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ข้าพเจ้าขอถวายพระพร 
ขอทุกๆพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญ 
จงทรงพระชนม์อายุยืนนาน
จงทรงพระญาณบารมีสูงยิ่งๆขึ้นไปเทอญ

ขอพระองค์ท่านทั้งหลาย จงประทานพรให้ข้าพเจ้า
พ้นจากสัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค 
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
จงพ้นไปจากตัวของข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้าพ้นทุกข์
หรือพบแต่ความดีตลอดไปจนพ้นทุกข์ด้วยเทอญ

สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสวะขะยาวะหัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ
สาธุ สาธุ (กราบ ๓ ครั้ง)




ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก - พิธีไหว้พระ


พิธีไหว้พระและสวดพระคัมภีร์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก




ก่อนเข้าห้องบูชาพระควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด และนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงไปยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัยแล้วค่อยกราบ ๓ หน จากนั้นสงบจิตระลึกถึงคุณบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อนแล้วจุดเล่มด้านซ้าย ต่อไปจุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เป็นเครื่องสักการบูชาเสร็จแล้ว เอาจิต(นึกเห็น)พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่งคุกเข่าประนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า และนมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต

พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุ ขออย่าทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง


วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก - บทนำ




บทสวดมหามนต์นี้ เป็นพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ สรรเสริญมหาสัพพัญญูพุทธะ ปัญญาฤทธิ์ เป็นมหาพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ และสาธยายหัวใจพระวินัยปิฎก พระสุตตัปปิฎก พระอภิธรรมปิฎกจบ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ของพระบรมครูศากยมุนีสีสรรเพชรเสด็จพระสะพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยพระปัญญาฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์และบรรจุหัวใจพระพุทธเจ้า ๕๐๐ ชาติ พระเจ้า ๑๐ ชาติ หัวใจอิติปิโสตลอดจนหัวใจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นการเพิ่มบารมีและบุญกุศล เพื่อสาธุชนชาวพุทธมามะกะผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลายได้เจริญภาวนามอบกายใจถวายชีวิตไว้กับองค์พระศากยมุนีสีสรรเพชร สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขออัญเชิญพระบารมีของพระพุทธเจ้าพระธัมมะเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์มาสิงสถิตอยู่ธาตุทั้ง ๔ เบญขันธ์เป็นเกราะแก้วเกราะเพชร คุ้มครองป้องกันภัยรักษาชีวิตให้ปราศจากสรรพอันตราย เวรภัยทั้งหลายทั้งปวง 

บทสวดมหามนต์นี้เป็นบทกล่าวถึงสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมหาพรหมะโลก มหาเทวะโลก มหาชมภูมนุษยโลก ตลอดถึงมรรค ๔ ผล ๔ ที่นักปฏิบัติมุ่งหน้าเข้าพระนิพพาน เป็นการเจริญพุทธานุสสติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เจริญสมถะภาวนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปญาณ พระอภิญญาและเกิดไตรลักษณาญาณ อันเป็นทางพระนิพพานหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง 
โบราณาจารย์ถือว่าเป็นการสร้างบุญกุศล ผลบารมีสำคัญมาก พระพุทธองค์ตรัสว่า 
"บุญเกิดจากการบำเพ็ญทาน บำเพ็ญรักษาศีล บำเพ็ญสวดมนต์ภาวนา เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่" 
พวกเราควรรักษาพระคัมภีร์นี้ไว้ให้ลูกหลานสืบไป จงเก็บไว้ที่หิ้งพระ หรือเก็บไว้ในที่สูงอันเป็นสมควร อย่าเก็บไว้ในที่ต่ำหรือเด็กเล่นข้ามไปมาจะเป็นกรรมแก่ตนเอง เพราะเปรียบเสมือนสายสิญจน์ของพระพุทธองค์ผู้ทรงคุณอันล้ำค่าตั้งแต่ฟ้าจรดดิน เป็นสมุทรสายสิญจน์ อานิสงค์ไม่มีที่สิ้นสุด ชาวพุทธมามะกะทั้งหลาย ท่านชาย ท่านหญิง จงได้รักการสวดภาวนาเป็นพุทธบูชา หาค่าประมาณมิได้

พระคัมภีร์เล่มนี้มีคุณค่ามหาศาล เพราะบรรจุพระธรรมอันล้ำค่าของพระพุทธองค์ พระศากยมุนีสีสรรเพชร ผู้เป็นบรมครูของพระอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เทวดา ครุฑ นาค คนธรรพ์ มนุษย์ ต่างก็สรรเสริญพระสัพพัญญูด้วยกันทั้งนั้น ขอให้ผู้ที่เป็นเจ้าของได้โปรดอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วน้อมนำไปปฏิบัติตามกำลังสติปัญญา เพื่อได้รับผลคือ จิตสะอาด จิตสว่าง จิตสงบ ตามควรแก่กำลังศรัทธาของท่านสาธุชน ด้วยความเจริญด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

ขอกุศลผลบุญอันเกิดจากธรรมทานที่ข้าพเจ้าได้นำหนังสือพระคัมภีร์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ฉบับพิสดารมาเผยแพร่นี้ จงบันดาลให้ท่านทั้งหลายเจริญงอกงามในธรรมอันเป็นสัมมาปฏิบัติ ขออำนาจคุณพระพุทธรัตนะ คุณพระธัมมะรัตนะ คุณพระสังฆะรัตนะ พร้อมทั้งคุณพระจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ พิพัฒนะมงคล สมบูรณ์พูนผลด้วย ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ทุกทิพาราตรีกาลนานเทอญ
.
.
.
เมื่อท่านเจริญภาวนา จงเจริญสมถะวิปัสสนาสมาธิต่อ จะได้อานิสงค์มาก เกิดบุญญาวาสนาทันตาเห็นดังที่ตั้งมะโนปราถนา ลาภสักการะมาไม่ขาดสายเลย